เมนู

บทว่า น ปาทโลโล ความว่า ไม่เดินส่ายไป ดุจสากเท้าจ้ำไป
เพราะรีบจะเข้าไปในท่ามกลางหมู่อย่างนี้ว่า ที่ 2 สำหรับคนหนึ่ง ที่ 3 สำหรับ
คน 2 คน หรือเว้นจากการเที่ยวไปนานและการเที่ยวไปไม่กลับ.
บทว่า คุตฺตินฺทริโย ได้แก่ มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์
ทั้ง 6 ด้วยอำนาจที่กล่าวไว้แผนกหนึ่งในคาถานี้.
บทว่า รกฺขิตมานสาโน ความว่า มานัสนั่นเอง ชื่อว่า มานสานะ
มานสานะนั้น อันบุคคลนั้นรักษาแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า
รกฺขิตมานสาโน แปลว่า มีใจอันตนรักษาแล้ว มีอธิบายว่า มีจิตอันตน
รักษาแล้ว โดยประการที่จิตไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า อนวสฺสโต ความว่า ผู้เว้นจากการรั่วรดของกิเลส ใน
อารมณ์นั้น ๆ ด้วยการปฏิบัตินี้.
บทว่า อปริฑยฺหมาโน ความว่า เพราะเว้นจากการรั่วรดอย่างนี้เอง
อันไฟคือกิเลสทั้งหลายไม่แผดเผาอยู่ หรืออันไฟคือกิเลสทั้งหลายไม่รั่วรดแล้ว
ในภายนอก ไม่แผดเผาอยู่ในภายใน. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
โอกขิตตจักขุวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 30


คาถาว่า โอหารยิตฺวา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า จาตุมาสิกพรหมทัต
พระองค์อื่นนี้ เสด็จไปทรงกีฬาในพระราชอุทยาน ทุก 4 เดือน ในวันหนึ่ง
ท้าวเธอเมื่อเสด็จเข้าพระราชอุทยาน ในเดือนท่ามกลางแห่งฤดูร้อน ทรงเห็น

ต้นทองหลางดุจต้นปาริฉัตรในสวรรค์ ซึ่งมีคาคบสะพรั่งด้วยดอก สล้างด้วย
ใบ ใกล้พระทวารแห่งพระราชอุทาน จึงทรงเด็ดเอาดอกหนึ่งแล้ว เสด็จ
เข้าสู่พระราชอุทยาน แต่นั้น อำมาตย์แม้คนหนึ่ง คิดว่า พระราชา
ทรงเด็ดเอาดอกงาม จึงยืนขึ้นบนคอช้างนั่นแล เด็ดเอาดอกหนึ่ง. โดยอุบาย
นั่นเทียว พลกายทั้งหมด จึงเด็ดเอาบ้าง ผู้ไม่ได้ดอก ก็เด็ดเอาแม้ซึ่งใบ
ต้นไม้นั้นจึงปราศจากใบและดอก เหลือแต่ลำต้นเท่านั้น.
ในสมัยเย็น พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ทรงเห็นต้นไม้
นั้น ทรงพระราชดำริอยู่ว่า ต้นไม้นี้ใครกระทำหรือ ในเวลาเรามา ก็สะพรั่ง
ด้วยดอกสวยงามเป็นเช่นกับแก้วประพาฬ ในระหว่างกิ่งซึ่งมีสีดุจแก้วมณี บัดนี้
กลายเป็นต้นไม้ปราศจากใบและดอกเสียแล้ว ทรงเห็นต้นไม้ไม่ผลิดอกมีใบ
เหลืองหล่นเกลื่อนกล่น ในที่ใกล้ต้นไม้นั้นแล ก็ครั้นทรงเห็นแล้ว พระองค์
ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า ต้นไม้นี้ เป็นที่ตั้งแห่งความโลภของชนมาก เพราะมี
กิ่งสะพรั่งด้วยดอก เพราะเหตุนั้น จึงถึงความย่อยยับเพียงชั่วครู่เท่านั้น ส่วน
ต้นไม้อื่นนี้ คงดำรงอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ราชสมบัติ
แม้นี้ พึงเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เหมือนต้นไม้ที่มีดอก ส่วนความเป็นภิกษุ
ไม่พึงเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เพราะฉะนั้น ราชสมบัติแม้นี้ ยังไม่ถูกแย่งชิง
เหมือนต้นไม้นี้ตราบใด เราพึงเป็นผู้ปกปิดด้วยผ้ากาสาวะ ดุจต้นทองหลาง
อื่นนี้ เกลื่อนกล่นด้วยใบเหลืองแล้ว บวชตราบนั้น พระราชานั้นทรงสละราช-
สมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงการทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ
แล้วตรัสอุทานคาถานี้ว่า
โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ
สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต
กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้น
ทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสา-
ยะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทนี้ว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ.
บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าว
ให้พิสดาร.
ปาริจฉัตตกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์
วรรคที่ 3 จบ

วรรคที่ 4


คาถาที่ 31


คาถาว่า รเสสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงแวดล้อมด้วยบุตรอำมาตย์
ทั้งหลายในพระราชอุทยาน ทรงเล่นกีฬา ในสระโบกขรณีที่มีแผ่นศิลา วิเสท
ถือเอารสแห่งเนื้อทั้งปวง ปรุงพระกระยาหารในระหว่าง ซึ่งปรุงดีอย่างยิ่ง ดุจ
อมฤตแล้ว น้อมถวายแด่พระองค์ พระราชานั้นทรงถึงความติดในพระกระ-
ยาหารนั้น ไม่ทรงประทานอะไรให้แก่ใครเลย เสวยแต่พระองค์เดียว เมื่อ
ทรงเล่นในน้ำ และเสด็จออกในเวลามืด ก็รีบเสวย ไม่ได้นึกถึงบริชนซึ่ง
พระองค์เคยเสวยด้วยกันมาแต่กาลก่อน.